การก่อสร้างด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Building With CO2)


การก่อสร้างด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Building With CO2)

ทุกปีปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ราว 30 พันล้านเมตริกตัน จากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลในแหล่งต่างๆ 
เช่น โรงไฟฟ้า รถยนต์ และอุตสาหกรรมถูกปลดปล่อยสู่บรรยากาศก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกที่มาของภาวะโลกร้อน 
ซึ่งความเป็นจริงรัฐบาลของประเทศต่างๆ และนักเคมีทั่วโลกได้สนใจทำการวิจัยมาเป็นเวลานานแล้วที่จะทำการแปรก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่โรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ 
ปล่อยออกมาให้เป็นประโยชน์ โดยใช้เทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพที่สุด

ตอนนี้ทีมนักวิจัยจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ หรือ MIT (Massachusetts Institute of Technology) 
ได้คิดค้นแนวทางใหม่ที่ไม่เพียงกำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากสิ่งแวดล้อมได้เท่านั้น แต่ยังสามารถเปลี่ยนให้เป็นของแข็งคาร์บอเนตที่ใช้ในการผลิตวัสดุก่อสร้างได้อีกด้วย 
โดยใช้ยีสต์ที่ดัดแปลงพันธุกรรม ซึ่งวิธีการนี้ได้รับแรงบันดาลใจจากหอยเป๋าฮื้อ เนื่องจากหอยชนิดนี้สามารถสร้างเปลือกที่เป็นแคลเซียมคาร์บอเนตและมีความแข็งแรงมาก
ได้จากคาร์บอนไดออกไซด์และไอออนของธาตุต่างๆ ที่ละลายในน้ำทะเล  กระบวนการนี้ผ่านการทดสอบในห้องปฏิบัติการมาแล้วพบว่า สามารถผลิตคาร์บอเนตได้ 1 กิโลกรัม 
ต่อการใช้คาร์บอนไดออกไซด์ที่ดักจับได้เพียง 0.5 กิโลกรัม ซึ่งวิธีของ MIT เป็นการใช้วิธีทางชีววิทยาที่ให้ผลในการดักจับสูงกว่าบริษัทบางแห่งที่ใช้วิธีทางเคมีในการดักจับคาร์บอนไดออกไซด์ 
อีกทั้งวิธีของ MIT ไม่ต้องใช้พลังงานในการให้ความร้อน ความเย็น และใช้สารเคมีอันตรายอีกด้วย งานวิจัยนี้จึงนับได้ว่าส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมก่อสร้างเป็นอย่างยิ่ง 
หวังว่าเทคดนโลยีนี้จะถูกนำเอาออกมาใช้ได้ในเร็วๆวันนี้ เพราะถ้ามันทำได้ การเจาะภูเขาเพื่อนำเอามาทำปูน หิน ทราย ก็จะลดลง และยังช่วยลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศได้อีกด้วย

ข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ :  https://inhabitat.com/new-co2-sand-bricks-are-2-5-times-stronger-than-concrete/

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

WallyHome Water Leak Detection เหมือนมีช่างประปาประจำบ้าน

Belkin WeMo ปลั๊กไฟอัจฉริยะ

ฉนวนกันความร้อน